วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เงื่อนไขจากภาครัฐที่เน้นลดความรุนแรงในพื้นที่ จชต.

ช่วงเจรจาสันติภาพ เป็นช่วงที่ต่างฝ่ายต่างพยายามยื่นข้อเสนอหรือเงื่อนไขให้กัน ก่อนนี้กลุ่มบีอาร์เอ็นก็ประกาศเงื่อนไข 5 ข้อ ดังที่หลายๆ ฝ่ายได้ทราบไปแล้ว ขณะเดียวกันรัฐบาลไทยก็ได้ยื่นเงื่อนไขเช่นกัน แต่ว่ายังไม่ได้รับการตอบสนองแต่อย่างใด

เมื่อ 14 พค. รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคงได้พูดถึงการกล่าวอ้างเสียงเรียกร้องของคนบางกลุ่มบางพวก 3 ข้อว่า

1. การระบุว่าถูก จนท.ข่มเห.รังแก อยากทราบว่าใครเป็นคนทำ ตอนนี้ได้ตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนแล้ว

2. หมายจับตาม พรก.ตาม ป.วิอาญา ถ้าคิดว่าถูกกลั่นแกล้ง ไม่จำเป็นต้องมาเองก็ได้ ส่งเอกสาร เอาตัวแทน เอาญาติพี่น้องมา

3. การยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน สอบถามไปยังผู้บัญชาการทหาร (ผบ.ทบ.) ก็เห็นด้วย แต่มีเงื่อนไขว่าต้องทำให้พื้นที่รับผิดชอบสงบก่อน แต่ยังไม่มีการตอบสนองตามที่ได้เสนอไป

ทั้ง 3 ข้อ น่าจะเป็นสิ่งที่กลุ่มแบ่งแยกดินแดน ปฏิบัติได้ง่ายกว่าการเรียกร้องยื่นเงื่อนไขกับฝ่ายรัฐ อีกทั้งน่าจะเป็นประโยชน์กับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนด้วย



โดย ไลลา

พวกแบ่งแยกดินแดนจะทำลายทุกอย่าง เพื่อปลดปล่อยปัตตานีเท่านี้เองหรือ

     มีคนสงสัยว่า กลุ่มก่อการร้ายคิดอะไรมากกว่าการฆ่าคน พวกเขาทำลายชีวิตผู้บริสุทธิ์ที่อยู่ร่วมผืนแผ่นดินจังหวัดเดียวกับเขาได้อย่างไร
     มีคนสงสัยว่า พวกเขา ทำลายพื้นที่ร้านค้า ทำลายเศรษฐกิจ ที่พวกเขาอยู่อาศัยมาตั้งแต่เล็กจนโตได้อย่างไร
     มีคนสงสัยว่าถ้าหาก สิ่งเลวร้ายเช่นนี้เกิดขึ้นกับครอบครัวของเขา ลูก ภรรยา พ่อแม่ พี่น้อง พวกเขาจะรู้สึกอย่างไร
* มีคนสงสัยว่า พวกเขาคิดหรือไม่ว่าสิ่งเลวร้ายที่ทำกับผู้อื่น วันหนึ่งมันจะไม่ย้อนกลับมาหาพวกเขาเอง

* มีคนสงสัยว่า แนวทางที่พวกเขาปฏิบัติอย่างเลวร้าย รุนแรงนี้ ดีที่สุดในการต่อรองกับอำนาจต่อรองกับรัฐหรือ


หรือพวกเขาเพียงสร้างภาพหลอกลวงว่า วันหนึ่งพวกเขาจะชนะและยืนอยู่บนซากความสูญเสียได้กระนั้นหรือ

โดย อามีน

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ผลดีของการเจรจาสันติภาพใน จชต.

การเจรจา สันติภาพระหว่าง ไทยกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดน นำโดยนายฮัซซัน ตอยิบ ตัวแทนจากองค์กร บี อาร์ เอน โคออดิเนท ตั้งแต่ 28 มี.ค. 56 นั้น ก่อให้เกิดผลดีหลายประการ แม้หลายฝ่ายจะเห็นว่า ยังคงมีการสถานการณ์ความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง

  1. แสดงให้เห็นว่าไทยยึดมั่นในการปฏิบัติตามแนวทางสันติภาพแทนการใช้ความรุนแรงกับกลุ่มผู้ก่อเหตุร้าย
  2. แสดงให้เห็นว่า เหตุการณ์ร้ายที่ผ่านมา มิได้เกิดจากฝีมือ จนท.ภาครัฐ เพราะปัจจุบัน กลุ่มแบ่งแยกดินแดนปัตตานีได้เปิดเผยตัวแล้ว แม้อาจจะไม่ครอบคลุมทุกกลุ่ม
  3. ทำให้ไทยเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเหล่านี้ ว่าแท้จริงแล้วพวกเขาต้องการอะไร
  4. ทำให้กลุ่มเหล่านี้ เข้าใจภาครัฐว่า รัฐมีนโยบายต่อปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ จชต.อย่างไร
  5. ทำให้มีช่องทางแก้ไขปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ จชต.เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการจับกุม หรือใช้กำลังปราบปราม
  6. ทำให้สังคมโลกรับรู้ปัญหาร่วมกันเพื่อร่วมกันให้ข้อเสนะแนะที่เป็นประโยชน์




โดย อับดุล

ความโหดร้ายของโจรใต้ นับวันยิ่งเพิ่มขึ้น

คงยังไม่มีใครลืมเหตุการณ์ยิงประชาชนผู้บริสุทธิ์ 6 รายที่ ปัตตานี เมื่อ 1 พ.ค. 56 อย่างง่ายๆ เพราะเป็นเหตุการณ์ที่หลายฝ่ายต่างวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการก่อเหตุที่โหดร้าย ทารุณ ที่สุดเนื่องจากเป็นการ จ่อยิงที่หัวของเด็กชายวัยเพี 2 ขวบ แล้วยังยิงคนพิการด้วย โดยคนร้ายใช้มอเตอร์ไซค์ 2 คันแล่นมาจอด คนบนรถ 4 คนแต่งชุดสีดำคล้ายทหารพราน กราดยิงไม่เลือกเป้าหมาย
แม้ว่าเป็นช่วงเวลาของการเจราสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มโจรใต้ ซึ่งอาจจะไม่ครอบคลุมทุกกลุ่ม แต่ที่เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป ว่าทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องการเห็นปัญหาภาคใต้แก้ไขปัญหาด้วยการเจรจาอย่างสันติวิธี ทั้งที่ รัฐบาลสามารถปราบปรามกลุ่มโจรหลายกลุ่มได้ แต่ไม่มีใครต้องการเห็นลูกหลาน จชต. ต้องสูญเสีย จึงไม่เห็นฝ่ายรัฐ จะเลือกแนวทางใช้ความรุนแรงปราบปรามแต่อย่างใด

แต่ดูเหมือนกลุ่มโจรใต้ หาได้สำนึกในความเอื้ออาทรของฝ่ายรัฐแต่อย่างใด โดยบางกลุ่มเลือกจะปฏิบัติการอย่างเหิมเกริมเพิ่มขึ้น สร้างสถานการณ์รายวันเพิ่มขึ้น หนักหนาขึ้นทุกวัน โดยการไม่เลือกเป้าหมาย ฆ่าได้แม้กระทั่งเด็กน้อย พวกเขากระทำสิ่งเลวร้ายเช่นนี้ได้อย่างไร อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครจะกล่าวโทษภาครัฐว่า การเจรจาสันติภาพไม่ได้ผล มันเกิดจาก พวกโจรโหดร้ายเกินกว่าจะรับรู้ความเมตตาในมนุษย์เป็นอย่างไรมากกว่า
 
 

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เยาวชนส่วนใหญ่ใน จชต. ร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์รุนแรง

เป็นที่รับรุ้กันโดยทั่วไป สาเหตุสำคัญที่เกิดสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ จชต.มาเป็นเวลานาน จนเกิดการบาดเจ็บล้มตายของประชาชนผู้บริสุทธิ์ตลอดจน จนท.ทางการไทย เป็นเพราะเยาวชน ใน จชต. ถูกสอนให้เกลียดชังภาครัฐและปลูกฝังให้ทวงคืนรัฐปัตตานี และแม้ว่าตอนนี้ไทยจะพยายามใช้แนวทางสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่สถานการณ์ยังไม่มีท่าทีจะลดน้อยลงแต่อย่างใด
แต่เรายังคงมีความหวังเมื่อ เยาวชนในพื้นที่ จชต.ส่วนใหญ่ยังคงมีความเข้าใจอันดีต่อภาครัฐ และให้ความร่วมมือกันแสดงความเห็น เมื่อ 18 เม.ย. ผ่านเวทีเสวนาสร้างสันติสุขสู่ชายแดนใต้ ในกลุ่มของนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ซึ่งเป็นนักศึกษาทั้งไทยพุทธ และไทยมุสลิม ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

พวกนักศึกษาเหล่านี้ได้สะท้อนถึงปัญหาความรุนแรงว่า เนื่องจากเยาวชนได้รับการปลูกฝังแนวคิดจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา และสถาบันปอเนาะบางแห่ง โดยเฉพาะผู้บริหารของโรงเรียนที่จบมาจากประเทศมุสลิมในบางประเทศ ให้เกลียดภาครัฐ และให้ทวงคืนรัฐปัตตานีกลับคืนมา ซึ่งเป็นการสร้างแนวร่วมเพื่อต่อต้านอำนาจรัฐ แนวทางแก้ปัญหาคือ ให้จัดหลักสูตร สันติศึกษาเพื่อให้เยาวชนเรียนรู้และมีความเข้าใจในการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขภายใต้ความแตกต่าง เพื่อลดความขัดแย้งทางความคิดและปลูกฝังในสิ่งที่ผิด ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะแก้ปัญหาในระยะยาวและป้องกันไม่ให้เยาวชนหลงผิด ถือได้ว่าเป็นแนวคิดที่ดี สร้างสรรค์ของเยาวชนพื้นที่ จชต.ที่ไม่ตกเป็นเหยื่อของขบวนการโจรใต้ ที่ภาครัฐควรใส่ใจรับฟังเป็นอย่างยิ่ง


โดย ไลลา

โจรใต้จะถูกประกาศขึ้นบัญชีเป็นผู้ก่อการร้ายเช่นเดียวกับทั่วโลก

          เป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับรัฐไทยเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสถานการณ์รุนแรงใน จชต. เพราะรัฐไทยกำลังใช้กฎหมายฟอกเงินฉบับใหม่เช่นเดียวกับทั่วโลก แต่ทำให้ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงใน จชต. ถูกขึ้นบัญชีเป็น "ผู้ก่อการร้าย" ตามหมายจับคดีความมั่นคงใน จชต.ซึ่งเกือบทั้งหมดระบุข้อหา "ก่อการร้าย" ข้อมูลเมื่อปี 56 มีทั้งสิ้น 4,253 ส่วนผู้ฝ่าฝืนทำธุรกรรมทางการเงินกับผู้ที่มีรายชื่อตามประกาศ จะมีโทษปรับ 1 ล้านบาท และปรับอีก 1 หมื่นบาททุกวันจนกว่าจะมีการแก้ไขและจะมีโทษจำคุก 3 ปี
สำหรับการกระทำที่ถูกระบุว่าเป็นความผิดฐานก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 135/1 ถึง 135/4 คือ
(1)
ใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการใดอันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต หรืออันตรายอย่างร้ายแรงต่อร่างกาย หรือเสรีภาพของบุคคลใดๆ
(2)
กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ระบบการขนส่งสาธารณะ ระบบโทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ
(3)
กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐหนึ่งรัฐใด หรือของบุคคลใด หรือต่อสิ่งแวดล้อม อันก่อให้เกิดหรือน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญ
 
 
ขณะที่การประกาศในครั้งนี้ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง. เห็นว่าจะไม่เป็นการเพิ่มความรุนแรงหรือกระพือไฟใต้ เพราะถึงอย่างไรก็คงต้องมีการก่อเหตุร้ายอยู่แล้ว เราไม่มีอะไรที่เลวร้ายมากไปกว่านี้ เราจะต้องดำเนินการตามกฎหมายให้ชัดเจน ถ้าไม่ทำจะถูกตอบโต้จากต่างประเทศ และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย" "เราจะเกรงใจผู้ก่อการร้ายที่สังหารเจ้าหน้าที่และประชาชนอยู่ทุกวันคงไม่ได้" เป็นอันว่าผู้ที่มีรายชื่อดังกล่าวและผู้ที่กำลังจะกระทำการเข้าข่ายข้อหา ก่อการร้ายน่าจะลำบากกว่าเดิมกับผลกระทบที่จะตามมา จะทำให้กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการก่อเหตุ ต้องคิดให้มากว่าที่เคยปฏิบัติมาอย่างแน่นอน
โดย มีนา
อ้างถึง : http://www.naewna.com/politic/48774

---------------------------------