วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

มุสลิมเหมือนกันแต่วิถีชีวิตแตกต่างกัน

ถ้า เราจะพูดถึงชาวมุสลิมภาคใต้เราคงนึกถึงคนที่เคร่งศาสนา และมีวิถีชีวิตที่ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ใครจะรู้ว่ามีมุสลิมจำนวนหนึ่งที่โดดเด่นแตกต่างจากท่านอื่น วันนี้คงจะไม่มีใครไม่รู้จัก ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียนที่เพิ่งหมดวาระไม่กี่เดือนนี้ แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่าก็คือเส้นทางความสำเร็จของท่านในฐานะที่ท่านเป็น มุสลิม ครอบครัวเป็นอนุรักษ์นิยมด้านศาสนาอิสลาม เน้นทางธรรมมากกว่าทางโลก เติบโตด้วยการฟังบทสวดและเสียงละหมาด แต่เหตุใดจึงก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งระดับสูงนอกจากนี้ ยังเคยดำรงตำแหน่ง รมต.กระทรวงต่างประเทศซึ่งถือเป็นกระทรวงที่ต้องพบปะเจรจากับประเทศต่างๆ ทั่วโลก และสังคมยังเห็นว่าท่านมีคุณสมบัติและโอกาสที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีในอนาคตอีก ด้วย  

ดร.สุรินทร์ บอกว่า ชีวิตของเขาไม่ได้เป็น ไม่ใช่ข้อยกเว้นของเด็กที่มีพื้นเพลักษณะเดียวกัน ไม่ใช่ความฟลุคหรือความบังเอิญที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จขึ้นมาได้ขนาดนี้ แต่เป็นการต่อสู้ของตัวเขาเองต่อข้อจำกัดต่างๆ ในชีวิตอย่างไม่ยอมแพ้ ผนวกกับโอกาสที่เขาได้รับจากคนอื่น ช่วยให้เขาเป็นเขาได้ในทุกวันนี้
 
 

ในขณะที่ภาคใต้ของไทยยังคงมีปัญหาการก่อความไม่สงบจากกลุ่มแบ่งแยกดินแดนปัตตานี หรือเรียกว่ากลุ่มโจรใต้ ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นลูกหลานชาวมุสลิม จชต. ที่ถือว่าหลงผิด แทนที่จะมุ่งมั่นในการศึกษาหาความรู้เพื่อสร้างชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองและครอบครัวให้ไปสู่ความเจริญก้าวหน้า แต่พวกเขาเลือกที่จะหันไปจับปืน และยิงผู้บริสุทธิ์แทน แล้วสุดท้ายพวกเขาก็ถูกลงโทษตามกม. 

 โดย อาบี

ประชาชนใน จชต. ทนไม่ไหว รณรงค์ปฎิเสธความรุนแรงอย่างสงบ

วันนี้เราเริ่มเห็นประชาชนใน จชต. กล้าที่จะแสดงออกว่าพวกเขาปฏิเสธความรุนแรง พวกเขาไม่เห็นด้วยกับความรุนแรงที่ก่อโดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ ดังเช่น เมื่อ 9 มี.ค. ประชาชนชาวนราธิวาสกว่า 1,000 คน ร่วมกันรณรงค์ต่อต้านความรุนแรง เพื่อกระตุ้นให้พี่น้องประชาชนให้ความร่วม มือกับทางการในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ ซึ่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเจ้าหน้าที่กองกำลังและประชาชนผู้บริสุทธิ์ ต้องสังเวยชีวิตไปกับสถานการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดระยะเวลากว่า 9 ปีแล้วจำนวนกว่า 5,500 คนและได้รับบาดเจ็บกว่า 8,900 คน

หากประชาชนใน จชต.ลุกขึ้นมาประท้วงผู้ก่อเหตุรุนแรงพร้อมๆ กัน สถานการณ์ความรุนแรงใน จชต.อาจจะเปลี่ยนแปลงไป กลุ่มก่อเหตุที่เคยใช้ความกลัวเป็นสิ่งควบคุมประชาชนเพื่อไม่ให้ร่วมมือกับภาครัฐ ไม่ให้แสดงออกว่าปฏิเสธความรุนแรง ทำให้ก่อนหน้านี้ ไม่มีใครออกมากล่าวตำหนิผู้ก่อเหตุว่าเป็นจุดชนวนความรุนแรงใน จชต. สร้างสถานการณ์ความไม่สงบรายวัน ทำให้ผู้บริสุทธิ์ต้องบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ในทางตรงข้ามกับได้ยินแต่ข่าวการกล่าวหาภาครัฐละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ จากองค์กรสิทธิมนุษยชนต่างๆ ทำให้ จนท.ภาครัฐทำงานด้วยความลำบากใจ เพราะต้องคอยระมัดระวังเกินเหตุในการปฏิบัติภารกิจความมั่นคงต่างๆ เพื่อไม่ให้ถูกกล่าวหาจากองค์กรเหล่านี้ ทั้งที่ในความเป็นจริง เราจะเห็นข่าว ผู้ก่อการร้ายเข่นฆ่าประชาชนและลอบทำร้าย จนท. ด้วยการยิง เผา และวางระเบิด บ่อยครั้ง แทบจะทุกวันก็ว่าได้ แต่ไม่เคยได้ยินเสียงตำหนิจากกลุ่มองค์กรเหล่านี้แต่อย่างใด

นั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กลุ่มก่อการร้ายได้ใจ ก่อเหตุไม่หยุดหย่อน เพราะพวกเขารู้ว่าจะไม่มีใครตำหนิติเตียน ก่นด่า การกระทำที่คนดีๆ ในโลกนี้ ไม่ทำกัน นั่นเป็นสาเหตุที่การก่อการร้ายไม่ลดน้อยลงมากนักตลอดระยะหลายปีที่ผ่านมา แต่ถ้าวันนี้ ประชาชนลุกขึ้นมาต่อต้านกลุ่มก่อเหตุรุนแรงอย่างสันติ บางครั้งเราอาจเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี เร็วขึ้นกว่าที่คาดคิดแทนที่จะโยนความรับผิดชอบให้เป็นหน้าที่ของภาครัฐฝ่ายเดียว แท้ที่จริง การมีส่วนร่วมของประชาชนที่จะทำให้เกิดความสงบสันติย่อมมีความสำคัญไม่ใช่น้อย

โดย ไลลา
 

กลุ่มก่อการร้ายเพิ่มการก่อเหตุร้ายตอบโต้กระบวนการเจรจาสันติภาพ

แม้รัฐบาลจะได้ทำพิธีลงนามความเห็นพ้องทั่วไปเพื่อร่วมกระบวนการเจรจา สันติภาพในพื้นที่ จชต. ณ กรุงกัวลาลัมเปอรเป็นอย่างดี เมื่อวันที่ 28 ก.พ.  ถือเป็นการดำเนินการตามแนวทางสันติวิธีตามที่เคยประกาศไว้มาตลอด แทนการใช้ความรุนแรงตอบโต้กลุ่มก่อการร้ายซึ่งจะทำให้ เกิดการบาดเจ็บล้มตายลงอีกเป็นอันมาก  ตามข้อมูลผู้ลงนามกับรัฐบาลคือนาย ฮัสซัน เป็นบีอาร์เอ็นและอยู่ในระดับสูง เขาเป็นรุ่นแรกๆ ที่ถูกส่งไปศึกษาในต่างประเทศเพื่อกลับมาร่วมก่อการตามแผนปฏิวัติมลายู ปัตตานี ฮัสซัน เป็นประธานปอมิบดีหรือประธานนักศึกษาปัตตานีประจำประเทศอินโดนีเซียคนสำคัญ



         เหตุการณ์วันนี้ยังไม่เปลี่ยน ยังคงมีการก่อเหตุความรุนแรงหรือการก่อกวน ดังเช่นเมื่อ 2 มี.คเกิดเหตุระเบิดรถจักรยานยนต์ริมสันเขื่อนสวนศรีเมือง ของยะลา ทหารพรานเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บสาหัส 7 คน ส่วนประชาชนได้รับบาดเจ็บ 5 คน และ เมื่อคืนวันที่ 4 มี.ค. ในพื้นที่ 7 อำเภอของจังหวัดยะลา ได้แก่ อ.เมืองยะลา, อ.กรงปินัง, อ.กาบัง, อ.ยะหา, อ.บันนังสตา, อ.ธารโต, อ.รามัน ได้เกิดเหตุเผายาง เผาทรัพย์สินทางการรวมทั้งหมด รวม 64 จุด ซึ่งดูเหมือนสถานการณ์จะรุนแรงมากกว่าเดิม ก่อนจะมีกระบวนการเจรจา ถือเป็นการส่งสัญญาณว่า กลุ่มก่อการร้ายบางกลุ่มไม่ต้องการแนวทางสันติภาพ พวกเขาต้องการความรุนแรง ต้องการให้เกิดการบาดเจ็บล้มตาย ทำลายทรัพย์สินของประชาชนเพื่อกดดันรัฐบาลให้ยอมจำนน แล้วสุดท้ายพวกเขาคิดว่าจะได้รัฐปัตตานีคืนด้วยวิธีการรุนแรง 

มันเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอนที่รัฐไทยซึ่งมีศักยภาพทางทหารพร้อมสรรพ จะยินยอมยกปัตตานีให้ไปเพราะพ่ายแพ้ต่อกลุ่มก่อเหตุ  แต่รัฐไทยพยายามอดทนอดกลั้นต่อความรุนแรงที่เกิดจากกลุ่มก่อการร้ายที่ไม่เคยประกาศตัวตน แต่รัฐไทยก็ไม่เคยใช้กำลังที่มีมากกว่าหลายพันหลายหมื่นเท่า เข้าปราบปรามจนพวกกลุ่มก่อการร้ายแตกพ่ายแต่อย่างใด เนื่องจากคำนึงถึงหลักมนุษยธรรมในการปกครอง แต่เมื่อพวกกลุ่มก่อเหตุพลาดพลั้งปะทะกับ จนท.บ้างจนเป็นเหตุให้เสียชีวิต พวกเขาก็คิดแค้นกับรัฐไทย เป็นสิ่งที่ถูกปลูกฝังความเกลียดชังอย่างผิดๆ อย่างไม่จบสิ้น

โดย อาบี