วันนี้เราเริ่มเห็นประชาชนใน
จชต. กล้าที่จะแสดงออกว่าพวกเขาปฏิเสธความรุนแรง
พวกเขาไม่เห็นด้วยกับความรุนแรงที่ก่อโดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนภาคใต้ ดังเช่น เมื่อ 9 มี.ค.
ประชาชนชาวนราธิวาสกว่า 1,000 คน ร่วมกันรณรงค์ต่อต้านความรุนแรง
เพื่อกระตุ้นให้พี่น้องประชาชนให้ความร่วม
มือกับทางการในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ
ซึ่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเจ้าหน้าที่กองกำลังและประชาชนผู้บริสุทธิ์
ต้องสังเวยชีวิตไปกับสถานการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ตลอดระยะเวลากว่า
9 ปีแล้วจำนวนกว่า 5,500
คนและได้รับบาดเจ็บกว่า 8,900 คน
หากประชาชนใน
จชต.ลุกขึ้นมาประท้วงผู้ก่อเหตุรุนแรงพร้อมๆ กัน สถานการณ์ความรุนแรงใน
จชต.อาจจะเปลี่ยนแปลงไป
กลุ่มก่อเหตุที่เคยใช้ความกลัวเป็นสิ่งควบคุมประชาชนเพื่อไม่ให้ร่วมมือกับภาครัฐ
ไม่ให้แสดงออกว่าปฏิเสธความรุนแรง ทำให้ก่อนหน้านี้ ไม่มีใครออกมากล่าวตำหนิผู้ก่อเหตุว่าเป็นจุดชนวนความรุนแรงใน
จชต. สร้างสถานการณ์ความไม่สงบรายวัน ทำให้ผู้บริสุทธิ์ต้องบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก
ในทางตรงข้ามกับได้ยินแต่ข่าวการกล่าวหาภาครัฐละเมิดสิทธิมนุษยชน
ทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ จากองค์กรสิทธิมนุษยชนต่างๆ ทำให้ จนท.ภาครัฐทำงานด้วยความลำบากใจ
เพราะต้องคอยระมัดระวังเกินเหตุในการปฏิบัติภารกิจความมั่นคงต่างๆ
เพื่อไม่ให้ถูกกล่าวหาจากองค์กรเหล่านี้ ทั้งที่ในความเป็นจริง เราจะเห็นข่าว
ผู้ก่อการร้ายเข่นฆ่าประชาชนและลอบทำร้าย จนท. ด้วยการยิง เผา และวางระเบิด
บ่อยครั้ง แทบจะทุกวันก็ว่าได้
แต่ไม่เคยได้ยินเสียงตำหนิจากกลุ่มองค์กรเหล่านี้แต่อย่างใด
นั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กลุ่มก่อการร้ายได้ใจ
ก่อเหตุไม่หยุดหย่อน เพราะพวกเขารู้ว่าจะไม่มีใครตำหนิติเตียน ก่นด่า
การกระทำที่คนดีๆ ในโลกนี้ ไม่ทำกัน นั่นเป็นสาเหตุที่การก่อการร้ายไม่ลดน้อยลงมากนักตลอดระยะหลายปีที่ผ่านมา
แต่ถ้าวันนี้ ประชาชนลุกขึ้นมาต่อต้านกลุ่มก่อเหตุรุนแรงอย่างสันติ
บางครั้งเราอาจเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี
เร็วขึ้นกว่าที่คาดคิดแทนที่จะโยนความรับผิดชอบให้เป็นหน้าที่ของภาครัฐฝ่ายเดียว
แท้ที่จริง การมีส่วนร่วมของประชาชนที่จะทำให้เกิดความสงบสันติย่อมมีความสำคัญไม่ใช่น้อย
โดย ไลลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น