แม้รัฐบาลจะได้ทำพิธีลงนามความเห็นพ้องทั่วไปเพื่อร่วมกระบวนการเจรจา
สันติภาพในพื้นที่
จชต. ณ กรุงกัวลาลัมเปอรเป็นอย่างดี เมื่อวันที่ 28 ก.พ.
ถือเป็นการดำเนินการตามแนวทางสันติวิธีตามที่เคยประกาศไว้มาตลอด
แทนการใช้ความรุนแรงตอบโต้กลุ่มก่อการร้ายซึ่งจะทำให้
เกิดการบาดเจ็บล้มตายลงอีกเป็นอันมาก ตามข้อมูลผู้ลงนามกับรัฐบาลคือนาย
ฮัสซัน
เป็นบีอาร์เอ็นและอยู่ในระดับสูง เขาเป็นรุ่นแรกๆ ที่ถูกส่งไปศึกษาในต่างประเทศเพื่อกลับมาร่วมก่อการตามแผนปฏิวัติมลายู
ปัตตานี
ฮัสซัน เป็นประธานปอมิบดีหรือประธานนักศึกษาปัตตานีประจำประเทศอินโดนีเซียคนสำคัญ
เหตุการณ์วันนี้ยังไม่เปลี่ยน
ยังคงมีการก่อเหตุความรุนแรงหรือการก่อกวน ดังเช่นเมื่อ 2 มี.คเกิดเหตุระเบิดรถจักรยานยนต์ริมสันเขื่อนสวนศรีเมือง
ของยะลา ทหารพรานเสียชีวิต 1 ราย
บาดเจ็บสาหัส 7 คน ส่วนประชาชนได้รับบาดเจ็บ
5 คน และ เมื่อคืนวันที่ 4 มี.ค. ในพื้นที่ 7 อำเภอของจังหวัดยะลา
ได้แก่ อ.เมืองยะลา, อ.กรงปินัง, อ.กาบัง, อ.ยะหา, อ.บันนังสตา, อ.ธารโต, อ.รามัน
ได้เกิดเหตุเผายาง เผาทรัพย์สินทางการรวมทั้งหมด รวม 64 จุด
ซึ่งดูเหมือนสถานการณ์จะรุนแรงมากกว่าเดิม ก่อนจะมีกระบวนการเจรจา ถือเป็นการส่งสัญญาณว่า
กลุ่มก่อการร้ายบางกลุ่มไม่ต้องการแนวทางสันติภาพ พวกเขาต้องการความรุนแรง
ต้องการให้เกิดการบาดเจ็บล้มตาย
ทำลายทรัพย์สินของประชาชนเพื่อกดดันรัฐบาลให้ยอมจำนน
แล้วสุดท้ายพวกเขาคิดว่าจะได้รัฐปัตตานีคืนด้วยวิธีการรุนแรง
มันเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอนที่รัฐไทยซึ่งมีศักยภาพทางทหารพร้อมสรรพ
จะยินยอมยกปัตตานีให้ไปเพราะพ่ายแพ้ต่อกลุ่มก่อเหตุ แต่รัฐไทยพยายามอดทนอดกลั้นต่อความรุนแรงที่เกิดจากกลุ่มก่อการร้ายที่ไม่เคยประกาศตัวตน
แต่รัฐไทยก็ไม่เคยใช้กำลังที่มีมากกว่าหลายพันหลายหมื่นเท่า เข้าปราบปรามจนพวกกลุ่มก่อการร้ายแตกพ่ายแต่อย่างใด
เนื่องจากคำนึงถึงหลักมนุษยธรรมในการปกครอง
แต่เมื่อพวกกลุ่มก่อเหตุพลาดพลั้งปะทะกับ จนท.บ้างจนเป็นเหตุให้เสียชีวิต
พวกเขาก็คิดแค้นกับรัฐไทย เป็นสิ่งที่ถูกปลูกฝังความเกลียดชังอย่างผิดๆ
อย่างไม่จบสิ้น
โดย อาบี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น